Earworm: แค่เพลงที่วนซ้ำในหัวหรือสัญญาณความผิดปกติบางอย่าง?

Baby Shark – Pinkfong (2015)

PPAP (Pen Pineapple Apple Pen) – Pikotaro (2017)

Moves Like Jagger – Maroon 5 (2010)

Can’t Get You Out of My Head – Kylie Minogue (2001)

นอกจากเพลงเหล่านี้แล้ว ยังมีเพลงไหนอีกบ้างคะที่เคยติดอยู่ในหัวของคุณจนยากที่จะสลัดมันออกไป เพลงไหนบ้างที่เนื้อร้องและทำนองเพลงเคยวนอยู่ในหัวคุณซ้ำไปซ้ำมา? ภาวะที่ท่อนเพลงสั้น ๆ หลอนอยู่ในหูนี้เรียกว่า “Earworm”

Highlight

  • แทบทุกคนเคยมีประสบการณ์ Earworm ซึ่งมักเกิดขึ้นไม่นานเพลงเหล่านั้นก็จะหายไปเอง โดยไม่มีอันตรายใด ๆ
  • ในบางราย Earworm อาจรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิต
  • แต่ในบางกรณี Earworm อาจเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างของร่างกายได้ ถ้าเช่นนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องให้การรักษา? บทความนี้มีคำตอบให้คุณ

10 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ Earworm

  1. Earworm มีอีกหลายชื่อเรียก ได้แก่ stuck song syndrome, musical imagery repetition หรือ involuntary musical imagery เป็นภาวะที่มีเพลงติดอยู่ในหัวทั้งที่อาจไม่ได้ตั้งใจนึกถึง 
  2. เพลงที่มักทำให้เกิด Earworm ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงที่ฟังหรือร้องบ่อย ๆ แต่มักเป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วจึงกระตุ้นสมองให้จดจำได้ดี มีเนื้อร้องและทำนองที่เข้าใจง่าย จำง่าย และวนไปมาซ้ำ ๆ  โดยการศึกษาพบว่าเนื้อเพลงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้เพลง ๆ นั้นติดหูมากกว่าทำนอง
  3. Earworm พบได้บ่อยมาก งานวิจัยแบบ survey study เผยว่าเกือบ 100% ของผู้ที่ทำแบบสอบถามเคยเจอกับภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ประมาณ 20% ยังรายงานว่าเกิด Earworm มากกว่าวันละ 1 ครั้ง
  4. โดยส่วนใหญ่แล้ว Earworm มักจะเกิดขึ้นครั้งละประมาณ 15 – 30 นาที ในบางรายอาจนานถึง 1 – 2 ชั่วโมงได้ แต่อย่างไรก็ดีจะไม่นานกว่า 24 ชั่วโมงในกรณีปกติ
  5. ผู้ที่มีโอกาสเกิด Earworm ได้นานกว่าคนทั่วไปหรือยากที่สลัดเพลงเหล่านั้นออกจากหัวได้ ได้แก่ ผู้หญิง นักดนตรีหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเพลง ผู้ที่มีความจำดี และผู้ที่ขาดความยืดหยุ่นทางจิตใจ (psychological inflexibility)
  6. Earworm เป็นเพียงอาการที่ก่อให้เกิดความหงุดหงิดและรำคาญใจเท่านั้น ไม่ใช่โรคหรืออาการเจ็บป่วย กลไกการเกิด Earworm ยังไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวกับกระบวนการเกิดความจำในสมอง (memory consolidation) นักวิชาการบางคนจึงเชื่อว่า Earworm คือภาวะที่บ่งบอกถึงสมองที่มีสุขภาพดีที่สามารถจดจำข้อมูลได้
  7. ผลตรวจ MRI สมองในผู้ที่มีประสบการณ์ Earworm เผยให้เห็นว่าความถี่ของการเกิด Earworm สัมพันธ์กับความหนาของสมองในบริเวณ right frontal, temporal cortices, anterior cingulate และ left angular gyrus
  8. สิ่งที่น่าสนใจคือ การยิ่งพยายามห้ามตัวเองไม่ให้นึกถึงหรือยิ่งพยายามที่จะเอาเพลงเหล่านั้นออกจากหัวมากเท่าไหร่ กลับยิ่งทำให้ต้องทนอยู่กับ Earworm นานยิ่งขึ้น
  9. วิธีการแก้ Earworm ในกรณีทั่วไปสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ยา หลักการง่าย ๆ คือในเมื่อหยุดคิดถึงเพลงท่อนนั้นไม่ได้ ก็ให้หาสิ่งอื่นทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจแทน เช่น การทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานมากขึ้นหรือการให้สมองได้จดจ่อกับเรื่องอื่น ๆ แทน ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยกับผู้อื่น การอ่านหนังสือ หรือการเล่นเกมไขปริศนา เป็นต้น
  10. Earworm ที่พบในบางรายอาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติทางจิตหรือระบบประสาทและสมองบางอย่าง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาได้ด้วย cognitive behavioral therapy (CBT) หรือการใช้ยาต่อไป

จะรู้ได้อย่างไรว่า Earworm ไม่ใช่เรื่องปกติอีกต่อไป?

  • เกิดขึ้นนานกว่า 24 ชั่วโมง
  • เกิดบ่อยขึ้นหรือนานขึ้นเมื่อรู้สึกเครียดหรือกังวล
  • กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิต เช่น ไม่มีสมาธิจดจ่อกับการทำงาน นอนไม่หลับหรือหลับยากกว่าปกติ เป็นต้น
  • มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
    • เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า 
    • สับสน
    • นอนไม่หลับ
    • เบื่ออาหาร
    • แขนหรือขาสั่น (tremors)
    • การพูดสะดุดหยุดเป็นพักๆ (speech arrest)
    • สูญเสียการมองเห็นหรือการมองเห็นบกพร่อง
    • หมดสติ

เมื่อผู้ป่วยมีอาการ Earworm ควรนึกถึงโรคอะไรบ้าง?

  • Obsessive-compulsive disorder (OCD)
  • Stress
  • Depression
  • Anxiety
  • Seizure
  • Musical hallucinations
  • Palinacousis
  • Migraine with aura
  • Schizophrenia
  • Drug toxicity
  • Brain damage

สรุป

แม้ว่า Earworm จะพบได้โดยทั่วไปและอาจไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ มากนักนอกจากการก่อให้เกิดความรำคาญใจ แต่ Earworm ที่เกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่ปกติอาจบ่งชี้ถึงอาการทางระบบประสาทและสมองบางอย่างได้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทราบว่าเมื่อใดต้องค้นหาสาเหตุและให้การรักษาต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Beaman CP, Williams TI. Earworms (stuck song syndrome): towards a natural history of intrusive thoughts. Br J Psychol. 2010 Nov;101(Pt 4):637-53.
  2. Reuman L, Buchholz J, Abramowitz J. Stuck in my head: Musical obsessions and experiential avoidance. Bull Menninger Clin. 2020 Oct;84(Supplement A):48-62.
  3. Farrugia N, Jakubowski K, Cusack R, Stewart L. Tunes stuck in your brain: The frequency and affective evaluation of involuntary musical imagery correlate with cortical structure. Conscious Cogn. 2015 Sep;35:66-77.
  4. Yoshimura R, Okamoto N, Konishi Y, Ikenouchi A. Major depression with musical obsession treated with vortioxetine: a case report. Ann Gen Psychiatry. 2021 Mar 9;20(1):19.
  5. Golden EC, Josephs KA. Minds on replay: musical hallucinations and their relationship to neurological disease. Brain. 2015 Dec;138(Pt 12):3793-802.
Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Thanks for exploring our medical content.

Create your free account or log in to continue reading.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience