ภาวะ Long-COVID อาจรุนแรงและเรื้อรังกว่าที่คิด–งานวิจัยล่าสุดเผยร่องรอยที่เชื้อโควิดฝากทิ้งไว้ในร่างกายผู้ป่วย

Highlight

  • “เชื้อจบแต่อาการไม่จบ” เพราะแม้ว่าจะหายจากการติดเชื้อไปแล้วเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่ยังพบความผิดปกติได้ในอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่สำคัญคือความผิดปกติอาจเกิดขึ้นได้ในหลายอวัยวะพร้อม ๆ กัน
  • แม้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่ไม่ได้หมายความว่าอวัยวะต่าง ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ
  • ภาวะ Long-COVID ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลต่อจิตใจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย

บทความนี้รวบรวมผลการศึกษาแบบ prospective study ที่ติดตามผู้ป่วยหลังจากติดเชื้อโควิดในระยะเวลาที่ต่าง ๆ กัน มาหาคำตอบว่าเชื้อโควิดทิ้งร่องรอยอะไรไว้ให้ผู้ป่วยบ้างและความผิดปกตินั้นอยู่กับผู้ป่วยนานแค่ไหน

ผู้ป่วยโควิดมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติที่สมองและปอดได้มากกว่าคนที่ไม่เคยป่วยเป็นโควิดถึง 3 เท่า1

  • การศึกษาแบบ prospective study1 ติดตามผู้ป่วยโควิดที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 13 แห่งในสหราชอาณาจักร (n=259) เทียบกับผู้ที่ไม่เคยเป็นโควิดและไม่มีประวัติเข้าโรงพยาบาลในช่วงปีที่ผ่านมา (n=52)
  • การติดตามผู้ป่วยในนัดหมายแต่ละครั้งทำการตรวจอวัยวะสำคัญประกอบด้วยสมอง หัวใจ ปอด ตับ และไตด้วย MRI ตัวอย่างเลือด และการสอบถามอาการจากผู้ป่วย
  • หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปแล้วประมาณ 5 เดือน ผลตรวจ MRI พบความผิดปกติที่สมอง ได้แก่ ปริมาตรสมองลดลงและเกิด lesion ในส่วนสมองเนื้อสีขาว (white matter) นอกจากนี้ยังพบรอยแผลเป็นและการอักเสบที่ปอดด้วย โดยโอกาสที่พบความผิดปกติดังกล่าวในผู้ป่วยสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยเป็นโควิดถึง 3 เท่า
  • ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าราว 60% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความผิดปกติในอวัยวะสำคัญตั้งแต่ 2 อวัยวะขึ้นไป
  • อาการแสดงที่รายงานโดยผู้ป่วยบางรายอาจไม่สอดคล้องกับผลตรวจ MRI เช่น อาการทางระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ยกเว้นอาการเจ็บแน่นหน้าอกและไอที่มีความสัมพันธ์กับผลตรวจ MRI ที่พบความผิดปกติที่ปอด
  • ผู้ป่วยที่รายงานว่ามีอาการป่วยทางร่างกายและทางจิตอย่างรุนแรงมักมีความผิดปกติเกิดขึ้นในหลายอวัยวะ

ผู้ป่วยโควิดเกือบ 60% ยังคงมีการทำงานของอวัยวะบกพร่องอยู่แม้จะหายจากการติดเชื้อไปแล้วนาน 1 ปี2

  • การศึกษาแบบ prospective cohort study2 ติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะ long-COVID (n=536) นาน 1 ปี โดย 32% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ และ 13% ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะโควิด
  • มีการติดตามผู้ป่วยทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ที่ 6 เดือนและ 1 ปีหลังจากเป็นโรคโควิด โดยมีการตรวจ MRI และสอบถามอาการจากผู้ป่วย
  • การศึกษาพบว่า 1 ปีหลังจากเป็นโควิดผู้ป่วยยังคงมีอาการหายใจไม่อิ่มขั้นรุนแรง (30%) สมองล้า (brain fog) (38%) และมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ไม่ดี (45%) อย่างไรก็ดีอัตราการเกิดอาการดังกล่าวมีแนวโน้มที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนแรก
  • ผลตรวจ MRI ที่ 1 ปีพบ organ damage ในผู้ป่วยถึง 59% โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดมีการทำงานบกพร่องของอวัยวะในหลายระบบ

เกือบ 40% ของผู้ป่วยที่เชื้อโควิดลงปอดจะมีการทำงานของปอดลดลง3

  • การศึกษาแบบ prospective study3 ติดตามผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบจากเชื้อโควิด (n=144) นาน 2 ปี
  • มีการนัดติดตามผู้ป่วยเพื่อตรวจร่างกายด้วยเครื่อง CT scan และการประเมินการทำงานของปอดที่ 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี
  • เกือบ 80% ของผู้ป่วยในการศึกษานี้มีอาการที่รุนแรง ในขณะที่อีก 4.2% มีอาการในขั้นวิกฤติ
  • แม้ว่าจะหายจากโรคไปแล้วนาน 2 ปี ผลตรวจจาก CT scan พบเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลาย บางส่วนมีการหนาตัวขึ้น และมีรอยแผลเป็น ซึ่งจัดเป็นกลุ่มโรคเนื้อเยื่อปอดอักเสบ (Interstitial Lung Disease) ในผู้ป่วย 39% ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งมากกว่า 20% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีพังผืดในปอดร่วมด้วย
  • การติดตามกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเนื้อเยื่อปอดอักเสบนี้ในปีที่ 2 หลังเป็นโควิดยังพบอีกว่า ผู้ป่วยยังมีอาการในระบบทางเดินหายใจหลงเหลืออยู่ โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะหายใจไม่อิ่ม (14%) และ mild-to-moderate pulmonary diffusion (29%) นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีสมรรถภาพปอดที่ลดลงด้วย

สรุป

ผลจากการศึกษาที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่าโรคโควิดอาจไม่ใช่แค่เพียงโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เพราะแม้ว่าจะหายจากโรคแล้วก็ยังคงมีโอกาสพบความผิดปกติที่อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกายได้ การศึกษาในอนาคตจะช่วยให้เราได้เข้าใจมากขึ้นว่าผู้ป่วยจะมีภาวะ long-COVID นานแค่ไหน และอาการต่าง ๆ จะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้หรือไม่ สิ่งที่เราสามารถทำได้ในตอนนี้คือการสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงและความเรื้อรังของภาวะ long-COVID รวมถึงการวางแนวทางการจัดการกับภาวะ long-COVID อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ


เอกสารอ้างอิง

  1. C-MORE/PHOSP-COVID Collaborative Group. Multiorgan MRI findings after hospitalisation with COVID-19 in the UK (C-MORE): a prospective, multicentre, observational cohort study. Lancet Respir Med. 2023 Sep 22:S2213-2600(23)00262-X.
  2. Dennis A, Cuthbertson DJ, Wootton D, et al. Multi-organ impairment and long COVID: a 1-year prospective, longitudinal cohort study. Journal of the Royal Society of Medicine. 2023;116(3):97-112.
  3. Han X, Chen L, Fan Y, Alwalid O, Jia X, Zheng Y, Liu J, Li Y, Cao Y, Gu J, Liu J, Zheng C, Ye Q, Shi H. Longitudinal Assessment of Chest CT Findings and Pulmonary Function after COVID-19 Infection. Radiology. 2023 Apr;307(2):e222888.
Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Thanks for exploring our medical content.

Create your free account or log in to continue reading.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience