ไขข้อสงสัย ทำไมคนไข้ไม่ยอมทานยา

  • ประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่ได้ทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยประเด็นที่เกี่ยวกับยา ประมาณ 40-70% มีสาเหตุมาจากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา
  • เมื่อแพทย์สั่งจ่ายเพิ่มขึ้นอีก 1 มื้อ เช่น จากวันละ 1 ครั้งเป็นวันละ 2 ครั้ง ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยจะลดลง 10% โดยประมาณ

โดยทั่วไปงานวิจัยต่าง ๆ มักมุ่งเน้นที่การคิดค้นและพัฒนายาให้มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษาโรค จนบางครั้งเราอาจหลงลืมไปว่าการที่จะเกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีได้นั้นไม่ใช่แค่เพราะประสิทธิภาพของยาแต่เพียงอย่างเดียว องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้คือความร่วมมือในการใช้ยาจากผู้ป่วยเองด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือความร่วมมือในการใช้ยาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกปัจจัยหนึ่งในกระบวนการรักษาผู้ป่วย

สาเหตุที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา

พฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการใช้ยานับเป็นเรื่องปัจเจกและมีความซับซ้อน ซึ่งทำให้จำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการแก้ไขปัญหา สิ่งที่ต้องตระหนักคือการที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาอาจไม่ได้เกิดจากผู้ป่วยเองเพียงฝ่ายเดียว แต่อาจเกี่ยวข้องกับบุคลากรทางแพทย์ด้วย การช่วยให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือการใช้ยามากขึ้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจสาเหตุและปัจจัยของปัญหาก่อน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้ดังนี้

1.  ปัจจัยจากผู้ป่วยเอง

  • ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
  • ไม่มีความรู้ด้านการแพทย์ (medical literacy) มากเพียงพอ
  • ขาดแรงจูงใจในการรักษา
  • ไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับการรักษา
  • การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน
  • ความซับซ้อนของวิธีการใช้ยาแต่ละชนิด
  • เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา
  • ความเชื่อและทัศนคติของผู้ป่วยที่มีต่อวิธีการรักษา ซึ่งอาจมาจากประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบข้าง
  • ความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรม
  • ความสะดวกในการเดินทางมารักษาตัวที่สถานพยาบาล
  • ไม่เข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษา เช่น วิธีการใช้ยา เหตุผลที่ต้องใช้ยา ผลลัพธ์และอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น
  • ขาดการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจากครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด
  • ภาวะสุขภาพจิตไม่ดี เช่น มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ความเครียด
  • ภาวะความจำถดถอยหรือความจำบกพร่อง
  • ดื่มแอลกอฮอล์และ/หรือใช้สารเสพติด
  • สวัสดิการด้านสุขภาพ
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาและฐานะทางการเงิน

2.  ปัจจัยจากแพทย์ผู้รักษา

  • ไม่ได้อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงตัวโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  • เมื่อสั่งจ่ายยาแพทย์อาจหลงลืมที่จะอธิบายให้ผู้ป่วยได้เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากยาให้ผู้ป่วยได้เข้าใจ
  • ขาดการสื่อสารที่เพียงพอเกี่ยวกับความสำคัญของการให้ความร่วมมือในการใช้ยา
  • การสั่งยาที่ไม่คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายหรือสวัสดิการด้านสุขภาพของผู้ป่วย

วิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยามากขึ้น

การซักประวัติ สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือจะทำอย่างไรให้รู้ได้ว่าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา อีกทั้งการถามคำถามเพื่อประเมินความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเป็นประเด็นที่อ่อนไหว บางคำถามอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจหรือถูกกล่าวโทษ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการถามโดยไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ากำลังถูกตัดสิน ตัวอย่างคำถามในการซักประวัติ เช่น

“หมอเข้าใจดีนะว่ามันเป็นเรื่องที่ยากมากกับการที่ต้องกินยาครบทุกตัวตามที่หมอสั่งในทุก ๆ วัน มียาตัวไหนที่คุณเคยลืมทานบ้างหรือไม่”

“คุณเคยหยุดทานยาเพราะมีสาเหตุอะไรบางอย่างหรือไม่”

“หลังจากทานยาที่หมอสั่งให้ มีอาการข้างเคียงใดเกิดขึ้นกับคุณบ้างหรือไม่”

“ครั้งล่าสุดที่คุณเพิ่งทานยาตัวนี้คือเมื่อใด” (ถามกับยาทีละตัว)

การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย (patient education) โดยการพูดคุยกับผู้ป่วยในลักษณะตัวต่อตัว หากเป็นไปได้ควรทำโดยทีมสหวิชาชีพและใช้หลายเทคนิคผสมผสานเข้าด้วยกัน โดยนอกจากจะเน้นให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและอาการที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองด้วย ในบางกรณีแพทย์อาจมีส่วนร่วมในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในทางอ้อมได้ด้วยการแนะนำช่องทางการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือคู่มือต่าง ๆ websites ตลอดจนกิจกรรมทางชุมชนและสังคม เป็นต้น

การเสริมสร้างพลังให้แก่ผู้ป่วย (empowerment) ประกอบด้วยการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ในกรณีที่มีการรักษาทางเลือกอื่น ๆ ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบและหารือร่วมกันก่อนตัดสินใจ กระตุ้นให้ผู้ป่วยถามคำถาม เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งอาจทำได้ง่าย ๆ โดยการถามผู้ป่วยเกี่ยวกับเวลาที่สะดวกทานยา ในบางกรณีการซักถามความคาดหวังหรือเป้าหมายของผู้ป่วยอาจช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ง่ายขึ้น

การประเมินความรู้ด้านการแพทย์ (medical literacy) ของผู้ป่วย การประเมินความรู้ของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ท้าทายเนื่องจากผู้ป่วยอาจอายหรือไม่สบายใจที่จะเปิดเผยว่าตนเองไม่รู้และไม่เข้าใจ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย เช่น ปัญหาในการอ่านฉลากยาจึงทำให้ไม่เข้าใจว่าต้องทานยาอย่างไร ปัญหาเหล่านี้อาจแก้ไขได้โดยการใช้การสื่อสารด้วยรูปภาพหรือรูปแบบของการฟังแทนการเขียนให้อ่าน

การประเมินภาวะทางสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล และความกลัว เป็นต้น การแก้ไขปัญหาทางจิตใจของผู้ป่วยมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาอย่างยั่งยืนและเพื่อให้ผลลัพธ์การรักษาที่เป็นที่น่าพึงพอใจ

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ อาจเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากการรับฟังผู้ป่วย แพทย์ควรแสดงให้เห็นถึงการให้เกียรติและเคารพความเชื่อส่วนบุคคล ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและวัฒนธรรม พร้อมให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านั้นในการวางแผนการรักษาด้วย กล่าวชมเมื่อผู้ป่วยบรรลุเป้าหมายการรักษา และไม่ต่อว่าหรือโทษว่าเป็นความผิดของผู้ป่วยที่ผลการรักษาไม่เป็นตามคาดด้วยการสร้างบรรยากาศที่ปราศจากการตำหนิหรือกล่าวโทษ (blame-free environment) จะช่วยให้ผู้ป่วยไว้ใจและซื่อสัตย์ที่จะอธิบายความจริงต่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น

การค้นหาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา อาการไม่พึงประสงค์จากยาเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ยอมทานยา ซึ่งหมายรวมถึงอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจริง ๆ และอาการที่เกิดจากความกลัวและความกังวลของผู้ป่วยเอง ดังนั้นการซักถามหรือการตรวจประเมินเพื่อระบุอาการไม่พึงประสงค์ให้ได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องในการนัดหมายทุก ๆ ครั้ง

การให้กำลังใจและการสนับสนุนผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยรู้สึกถึงการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจะทำให้มีกำลังใจในการรักษามากขึ้น การใช้การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (motivational interviewing) ซึ่งเป็นการให้คำแนะนำปรึกษารูปแบบหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ป่วยค้นหาแรงบันดาลใจในการทานยา ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายการรักษาอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ควรนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีนี้

หลีกเลี่ยงการสั่งจ่ายยาหลายตัวในครั้งเดียวกันหากเป็นไปได้ เนื่องจากอาจมีผลบั่นทอนกำลังใจของผู้ป่วยและง่ายต่อการทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสับสนในข้อมูลเกี่ยวกับยาแต่ละชนิด อย่างไรก็ดีหากไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แพทย์ควรบอกเหตุผลให้ผู้ป่วยเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการรักษาด้วยยาหลายชนิดร่วมกัน

สรุป

ปัญหาคนไข้ไม่ยอมทานยาเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติซึ่งส่งผลต่อผลลัพธ์การรักษา สิ่งสำคัญที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องตระหนักคือการที่ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยาตามที่แพทย์สั่งนั้นเป็นความรับผิดชอบของทั้งตัวผู้ป่วยเอง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การรักษาด้วย การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนควรเกิดจากความเข้าใจสาเหตุและปัจจัยอย่างแท้จริง


เอกสารอ้างอิง

  1. Brown MT, Bussell JK. Medication adherence: WHO cares? Mayo Clin Proc. 2011;86(4):304-14.
  2. Aremu TO, Oluwole OE, Adeyinka KO, Schommer JC. Medication Adherence and Compliance: Recipe for Improving Patient Outcomes. Pharmacy (Basel). 2022;10(5):106.
  3. Neiman AB, Ruppar T, Ho M, Garber L, Weidle PJ, Hong Y, George MG, Thorpe PG. CDC Grand Rounds: Improving medication adherence for chronic disease management – Innovations and opportunities. Am J Transplant. 2018;18(2):514-7.
Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Thanks for exploring our medical content.

Create your free account or log in to continue reading.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience