การทำงานแบบเป็นกะทำลายสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ได้อย่างไร?

  • สัปดาห์นี้คุณควงเวรไปกี่ชั่วโมงแล้วคะ? ขึ้นเวรหนักแบบนี้ได้เข้านอนตรงเวลาหรือเปล่า? สำหรับบุคลากรทางการแพทย์เช่นคุณที่ต้องทำงานเป็นกะหรือขึ้นเวรคงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถเข้านอนในเวลาเดียวกันได้ทุกวันใช่หรือไม่?
  • คุณจะเชื่อหรือไม่ว่าการขึ้นเวรซึ่งส่งผลให้คุณนอนไม่เป็นเวลานั้น สามารถทำลายสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ได้?
  • เนื่องจากการเสียสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้สัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคทาง cardiometabolics ได้แก่ โรคอ้วน เบาหวาน และโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานด้วย

ความท้าทายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษาแบบแผนการนอนหลับที่สม่ำเสมอ

บุคลากรทางการแพทย์เป็นกลุ่มอาชีพหนึ่งที่ต้องทำงานแบบเป็นกะหรือขึ้นเวร จึงเป็นเรื่องยากที่จะสามารถเข้านอนในเวลาเดียวกันได้ทุกวัน ซึ่งทำให้นาฬิกาชีวิต (circadian rhythm) ผิดเพี้ยนไปและส่งผลโดยตรงคือทำให้รู้สึกง่วงซึม อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นระหว่างวัน อาจเรียกภาวะดังกล่าวว่า “social jet lag” งานวิจัยพบว่า social jet lag พบได้มากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน สาเหตุหลักมาจากข้อจำกัดทางอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานแบบเป็นกะหรือผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนในวันทำงานต่างไปจากวันหยุด

คนทั่วไปมักสนใจที่โทษของ “การอดนอน” เพราะเข้าใจว่าชั่วโมงในการนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพการนอนและการนอนหลับที่เพียงพอจำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดี แต่เราอาจกำลังมองข้ามอันตรายจากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง “การเข้านอนที่ไม่เป็นเวลา” ไป กล่าวอีกนัยหนึ่งคือแม้ว่าคุณจะเข้านอนดึกแล้วชดเชยเวลานอนด้วยการตื่นสายกว่าเดิม เพื่อให้ตัวเองมีเวลานอนที่เท่ากันในแต่ละคืนแล้วก็ตาม แต่นั่นอาจไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะประเด็นสำคัญจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The European Journal of Nutrition ในเดือนสิงหาคม 2023 ที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นว่าแค่เวลาเข้านอนที่ไม่ตรงกันในแต่ละวันในสัปดาห์หนึ่ง ๆ ก็สามารถส่งผลร้ายต่อร่างกายคุณได้แล้ว

ข้อมูลเชิงวิจัย

การศึกษาแบบ cohort study ในประเทศอังกฤษได้ติดตามผู้ใหญ่อายุ 18–65 ปี จำนวน 934 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการนอนหลับที่ไม่เป็นเวลากับเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ นิยามของการนอนหลับที่ไม่เป็นเวลาในการศึกษานี้หมายถึง รูปแบบการนอนในวันทำงานที่แตกต่างไปจากในวันหยุดพักผ่อน ซึ่งประเมินจาก mid-sleep point ที่ต่างกันตั้งแต่  1 ชั่วโมงขึ้นไป ทั้งนี้ไม่คำนึงถึงระยะเวลารวมในการนอน

ผู้เข้าร่วมวิจัยมีอายุเฉลี่ย 46 ปี ประมาณ 70% เป็นผู้หญิง และ 16% ของผู้เข้าร่วมวิจัยมีภาวะ social jet lag คือ มี mid-sleep point ในวันทำงานต่างจากวันหยุดมากกว่า 90 นาทีขึ้นไป โดย 97% ของคนกลุ่มนี้รายงานว่ามีเวลานอนเฉลี่ยต่อคืนประมาณ 7-9 ชั่วโมง จะเห็นได้ว่ามีเพียง 3% ของคนที่มีภาวะ social jet lag เท่านั้นที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง

องค์ประกอบของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้: การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีภาวะ “Social Jet Lag” และกลุ่มควบคุม

จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ที่มีภาวะ social jet lag พบความแตกต่างจากผู้ที่ไม่มีภาวะดังกล่าว (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญ มีเชื้อจุลินทรีย์จำนวน 8 ชนิดที่พบน้อยลงในผู้ที่มี social jet lag ในขณะที่อีก 9 ชนิดพบในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ โดยในจำนวนนี้มีเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิดคือ Clostridia bacterium SGB14263, Clostridia bacterium SGB3940 และ Peptococcaceae bacterium GB49168 ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการที่ไม่ดี อีกทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ของโรคอ้วน โรคที่เกี่ยวกับ cardiometabolics รวมถึงการเกิดกระบวนการอักเสบและการมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจที่สูงขึ้นด้วย

นอกจากนี้การศึกษายังพบอีกว่า social jet lag สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ผู้ที่มีภาวะ social jet lag มักรับประทานผลไม้และถั่วที่มีประโยชน์ต่อร่างกายน้อยลง แต่กลับมีแนวโน้มการบริโภคเครื่องดื่มผสมน้ำตาลมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้สูญเสียสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้ได้เช่นกัน

สรุป

งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าแค่การเข้านอนที่ผิดเวลาเพียง 90 นาทีก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ไม่ต่างจากการอดนอน โดยไม่เพียงแต่ผลในระยะสั้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกง่วงซึม อ่อนเพลีย หรือ social jet lag เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทาง cardiometabolics ได้อีกด้วย บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานแบบเป็นกะหรือขึ้นเวรเป็นประจำจึงเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวได้


เอกสารอ้างอิง

Bermingham KM, Stensrud S, Asnicar F, et al. Exploring the relationship between social jetlag with gut microbial composition, diet and cardiometabolic health, in the ZOE PREDICT 1 cohort. Eur J Nutr. 2023 Aug 2. doi: 10.1007/s00394-023-03204-x. Epub ahead of print. PMID: 37528259.

Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience