Headache Red Flags: 15 สัญญาณที่ห้ามชะล่าใจ

  • อาการปวดศีรษะเป็น neurological complaint สำคัญที่พบได้บ่อยในแผนกฉุกเฉิน
  • อาการปวดศีรษะสามารถแบ่งได้เป็น 1. primary headache หรืออาการปวดศีรษะที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ได้แก่ migraine, tension headache และ cluster headache เป็นต้น และ 2. secondary headache ซึ่งเป็นการปวดศีรษะที่ทราบที่มาของอาการ และอาจเกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพที่รุนแรง
  • Secondary headache พบได้ประมาณ 10 – 20% ของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดศีรษะ
  • สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของ secondary headache คือ medication overuse headache (MOH)
  • หลักการวินิจฉัย secondary headache ประเมินจาก onset ของอาการปวดศีรษะที่สัมพันธ์กับ ประวัติและการตรวจร่างกายบางอย่าง ในบางกรณีอาจพบในผู้ป่วยเคยมีประะวัติ primary headache อยู่แล้วเดิม แต่ลักษณะการปวดศีรษะเปลี่ยนไป กล่าวคือ ปวดเรื้อรังและ/หรือรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่ 2 เท่าขึ้นไป และอาการปวดจะดีขึ้นหรือแย่ลงแปรผันตามอาการของ underlying diseases นั้น ๆ
  • แม้ว่า secondary headache จะพบได้ไม่บ่อยนักแต่อาจรุนแรงถึงชีวิต แพทย์ควรคำนึง Red flag signs ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการพิจารณาทำ work-up ต่อไป

Red flags checklists: SNNOOP10

  • Systemic symptoms
  • Neoplasm
  • Neurologic deficit or dysfunction
  • Onset is sudden
  • Older age (>50 years)
  • Pattern change
  • Positional headache
  • Precipitated sneezing, coughing, or exercise
  • Papilloedema
  • Progressive headache and atypical presentations
  • Pregnancy or puerperium
  • Painful eye with autonomic features
  • Post-traumatic onset
  • Pathology of immune system such as HIV
  • Painkiller overuse or new drug at onset of headache

Systemic symptoms

  • มีอาการปวดหัวร่วมกับมี systemic illnesses ได้แก่ มีไข้
  • สาเหตุอาจเกิดได้จาก systemic infection หรือ neurologic infection เช่น bacterial meningitis, viral meningitis, encephalitis และ brain abscess เป็นต้น
  • ในผู้ป่วย meningitis มักพบอาการปวดปวดศีรษะร่วมกับ อาการสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ มีไข้ คอแข็ง ซึม สับสน

Neoplasm

  • อาจเกิดได้จากทั้ง brain tumor และ intracranial metastasis โดยมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่สมองได้บ่อย ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนังชนิด malignant melanoma
  • ระดับความรุนแรงของอาการปวดอยู่ในระดับปานกลางถึงปวดมาก
  • อาการอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกันได้ เช่น อาเจียน ปวดหัวเรื้อรังนานกว่า 10 สัปดาห์ atypical headache pattern เซ (gait instability) และมี extensor plantar response

Neurologic deficit or dysfunction

  • Neurological signs and symptoms รวมถึงความรู้สึกตัวที่ลดลงด้วย
  • สาเหตุอาจเป็นไปได้ทั้ง vascular หรือ non-vascular disorders เช่น intracranial hemorrhage, ischemic stroke, infections หรือ tumors เป็นต้น
  • ในกรณีผู้ป่วย stroke นั้นมักพบอาการปวดศีรษะใน hemorrhagic stroke ได้บ่อยกว่า ischemic stroke นอกจากนี้ความรุนแรงของอาการปวดไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับขนาดของรอยโรค
  • ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เพศหญิง อายุน้อย cerebellar stroke ความดันโลหิตต่ำ

Onset is sudden

  • อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันนี้ โดยทั่วไปมักจะปวดมากในช่วงเวลาสั้น ๆ และมักจะไม่นานกว่า 1 ชั่วโมง
  • สาเหตุเกิดจาก subarachnoid hemorrhage (SAH), cerebral venous or sinus thrombosis, intracranial hypotension, reversible cerebral vasoconstriction syndromes เป็นต้น
  • อาการปวดศีรษะแบบ thunderclap headache มักสัมพันธ์กับ SAH

Older age (>50 years)

  • สาเหตุหลักของ secondary headache ในกลุ่มผู้สูงอายุคือ Giant cell arteritis (GCA) ซึ่งเกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดในสมอง
  • สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ เช่น cranial or cervical vascular disorders, neoplasm หรือ non-vascular intracranial disorders

Pattern change

  • เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น neoplasm, vascular- or nonvascular intracranial disorders

Positional headache

  • เป็นอาการปวดศีรษะที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าทาง ส่วนมากอาการจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  • สาเหตุเกิดจาก intracranial hypertension หรือ intracranial hypotension หรืออาจเกิดจาก low CSF pressure ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการเจาะน้ำไขสันหลัง (lumbar puncture) หรือการผ่าตัดระบบประสาทและสมอง
  • อาการที่มักพบร่วมได้บ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ visual disturbance คอแข็ง อาการบ้านหมุน (vertigo) มีเสียงรบกวนในหู (tinnitus) และ cognitive abnormalities

Precipitated sneezing, coughing, or exercise

  • อาการปวดศีรษะที่ถูกกระตุ้นโดยการไอ จาม หรือการออกกำลังมักเกี่ยวข้องกับ 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ Chiari malformation type I และ posterior fossa lesion

Papilloedema

  • มักเกิดจาก intracranial abnormalities เช่น intracranial hypertension หรือ neoplasm เป็นต้น

Progressive headache and atypical presentations

  • สาเหตุอาจมาจาก neoplasm หรือ nonvascular intracranial disorders

Pregnancy or puerperium

  • อาการปวดศีรษะในกรณีนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด ได้แก่ hypercoagulability ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และหัตถการบางอย่าง เช่น การทำ epidural anesthesia
  • สาเหตุอาจเกิดจาก cranial or cervical vascular disorders, postdural puncture, preeclampsia, cerebral sinus thrombosis, hypothyroidism, anemia และ diabetes
  • เชื่อว่าพบมากที่สุดในการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สาม

Painful eye with autonomic features

  • อาจเกิดจาก structural lesion ที่ตาโดยตรงหรือในระบบประสาทและสมอง ได้แก่ สมองส่วน posterior fossa หรือ pituitary, Cavernous sinus syndrome และ Tolosa-Hunt syndrome เป็นต้น

Post-traumatic onset

  • พบได้ทั้ง acute และ chronic headache
  • อาจพบแค่เพียงอาการปวดศีรษะอย่างเดียวหรือพบร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้ ได้แก่ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย สมาธิลดลง วิตกกังวล นอนไม่หลับ พฤติกรรมเปลี่ยน psychomotor slowing และ  irritability เป็นต้น
  • อาการปวดศีรษะอาจเกิดขึ้นหลังจาก trauma เพียงครั้งเดียว แต่เป็นไปได้ที่จะเกิดหลังจาก minor head impacts ซ้ำ ๆ เช่น ในกลุ่มนักกีฬาอเมริกันฟุตบอล
  • สาเหตุที่พบได้แก่ subdural hematoma และ vascular disorders เป็นต้น
  • ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ เพศหญิง เคยมีประวัติปวดศีรษะมาก่อน less severe injury และ psychiatric disorders

Pathology of immune system such as HIV

  • อาการปวดศีรษะถือเป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV พบได้ประมาณ 34 – 61%
  • สาเหตุหลักคือการติดเชื้อฉวยโอกาส ได้แก่ cerebral toxoplasmosis, primary CNS lymphoma และ progressive multifocal leukoencephalopathy
  • ความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลง

Painkiller overuse or new drug at onset of headache

  • การปวดศีรษะที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดหรือ medication overuse headache (MOH)คือสาเหตุหลักของ secondary headache ซึ่งอาจพบได้ประมาณ 0.5 – 7.2% ของผู้ใหญ่ที่มีอาการปวดศีรษะ
  • อาการปวดศีรษะที่เพิ่งเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์กับยาที่ผู้ป่วยใช้นั้นถือเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังเช่นกัน ยาที่อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ ได้แก่ nitric oxides, phosphodiesterase inhibitors, acute presser agents นอกจากนี้ยังรวมถึงสารเคมีหรือสารเสพติดบางชนิด เช่น cociane, histamine หรือ carbon monoxide เป็นต้น

แนวทางการซักประวัติ

  • ความเฉียบพลันและความรุนแรงของอาการ
  • ประวัติการปวดศีรษะ: เคยเป็นมาก่อนหรือเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
  • ลักษณะของอาการปวด
  • ระยะเวลาของอาการปวด
  • ตำแหน่งที่ปวด
  • อาการร่วม ประเมินทั้งจากอาการที่นำมาก่อนและอาการที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับอาการปวดศีรษะ
  • ปัจจัยกระตุ้น เช่น มักปวดขณะออกแรง ปวดเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
  • ประวัติครอบครัว โดยเฉพาะ first หรือ second degree relative
  • โรคประจำตัว
  • ยาที่ใช้ ทั้งยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์และยาที่ซื้อรับประทานเอง
  • ประวัติทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัด การทำฟัน

การตรวจร่างกาย

  • Vital signs
  • Head and face palpation
  • Funduscopic examinations
  • Neurologic examinations
  • Cardiovascular assessment

Possible work up

  • Erythrocyte sedimentation rate (ESR)
  • C-reactive protein (CRP)
  • Neuroimaging: MRI and CT scan
  • Lumbar puncture

เอกสารอ้างอิง

  1. The International Classification of Headache Disorders 3rd edition. Available at: https://ichd-3.org/
  2. Wijeratne T, Wijeratne C, Korajkic N, Bird S, Sales C, Riederer F. Secondary headaches – red and green flags and their significance for diagnostics. eNeurologicalSci. 2023;32:100473.
  3. Munoz-Ceron J, Marin-Careaga V, Peña L, Mutis J, Ortiz G. Headache at the emergency room: Etiologies, diagnostic usefulness of the ICHD 3 criteria, red and green flags. PLoS One. 2019;14(1):e0208728.
  4. Clinch CR. Evaluation of acute headaches in adults. Am Fam Physician. 2001;63(4):685-92.
Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience