ภายใต้คำโกหกของผู้ป่วยอาจมีบางสิ่งซ่อนอยู่: สิ่งที่ต้องเรียนรู้และรับมืออย่างเข้าใจ

ผู้ป่วยอาจไม่ได้พูดความจริงกับคุณตลอดเวลา บางครั้งอาจปกปิดข้อมูลบางอย่าง บางครั้งอาจบิดเบือนความจริง และบางครั้งพวกเขาเลือกที่จะไม่โต้แย้งหรือเงียบทั้งที่ไม่เห็นด้วยกับแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการโกหกในลักษณะไหนและเป็นไปด้วยเจตนาใดก็ตาม การไม่พูดความจริงในความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงได้ เพราะคือการเดิมพันด้วยผลการรักษาและความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเอง

เรื่องที่ผู้ป่วยมักโกหกแพทย์บ่อยที่สุด ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความถี่ในการออกกำลังกาย กิจกรรมทางเพศ การสูบบุหรี่ รวมไปถึงอาการเจ็บป่วย ผู้ป่วยบางคนอาจโกหกให้อาการดูรุนแรงกว่าความเป็นจริง แต่บางคนอาจปิดบังความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้น นอกจากนี้โอกาสที่ผู้ป่วยจะปิดบังความจริงจะเพิ่มสูงขึ้นถ้าพบแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเช่น telemedicine

อะไรคือสิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำโกหกของผู้ป่วย?

  • เหตุผล 3 ข้อหลักที่ทำให้ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไม่พูดความจริงคือความรู้สึกอาย รองลงมาคือพวกเขาไม่อยากถูกตัดสินหรือถูกตำหนิ นอกจากนี้ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ให้เหตุผลว่าพวกเขาแค่ไม่อยากทำตัวมีปัญหาหรือทำให้แพทย์ต้องเสียเวลา
  • ประสบการณ์จากการรักษาในอดีตมีผลต่อการโกหก ผู้ที่เคยรู้สึกว่าแพทย์ไม่ค่อยใส่ใจหรือละเลยตนเองนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่ซื่อสัตย์ในการให้ข้อมูลกับแพทย์ นอกจากนี้ผู้ที่เคยรู้สึกว่าตนถูกตัดสินโดยแพทย์มาก่อนก็มีโอกาสที่จะโกหกเพื่อหลีกเลี่ยงการตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวซ้ำอีก
  • 20% ของผู้ป่วยให้อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือพวกเขาเลือกที่จะโกหกเพราะยังไม่สามารถยอมรับความจริงบางอย่างได้
  • ดูเหมือนว่าเพศหญิงและเพศชายมีโอกาสโกหกได้ไม่ต่างกัน โดยอยู่ที่ราว ๆ 70-80% อย่างไรก็ดีผลการศึกษาที่ผ่านมามีความขัดแย้งกันอยู่บ้างซึ่งอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม บางการสำรวจพบว่าผู้ป่วยหญิงอาจโกหกแพทย์มากกว่าผู้ป่วยชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนอายุน้อย
  • ยิ่งอายุน้อยยิ่งมีแนวโน้มที่จะโกหกแพทย์มากขึ้น โดย 93% ของคน Gen Z สารภาพว่าเคยโกหกแพทย์ รองลงมาคือ Gen Y (76%) Gen X (75%) และ baby boomers (69%) ตามลำดับ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือคนในกลุ่ม baby boomers มีโอกาสที่จะพูดความจริงกับแพทย์มากที่สุดนั่นเอง
  • สาเหตุที่ baby boomers ไม่อยากโกหกแพทย์นั้นเป็นเพราะประสบการณ์ชีวิตสอนให้รู้ว่าการพูดความจริงนั้นเป็นประโยชน์ต่อตัวเองในกระบวนการรักษา เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่คุ้นเคยกับอาการเจ็บป่วยและโรคต่าง ๆ มากกว่าคนในช่วงวัยอื่น
  • สอดคล้องกับผลการสำรวจที่พบว่าช่วงวัยที่ต่างกันจะรู้สึกสบายใจในการพูดคุยกับแพทย์แตกต่างกันไป โดยเกือบ 70% ของกลุ่ม baby boomers ให้ความเห็นว่าตนไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อต้องสนทนากับแพทย์ แต่มีเพียง 51.8% ของคน Gen Z เท่านั้นที่รู้สึกแบบเดียวกัน
  • อย่างไรก็ดีคนในช่วงวัยต่างกันก็มีเหตุผลหลัก ๆ ที่ต้องโกหกไม่เหมือนกัน ขึ้นกับว่าเรื่องใดที่ทำให้คนในวัยนั้นรู้สึกไม่ปลอดภัย Gen Z มักเลี่ยงที่จะพูดความจริงเกี่ยวกับเรื่องทางเพศเพราะกลัวถูกตัดสิน Gen Y มักโกหกเรื่องการออกกำลังกาย ส่วน Gen X มักเป็นเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่กลุ่ม baby boomers เป็นเรื่องอาหารการกิน

รับมือกับคำโกหกในความสัมพันธ์นี้อย่างไรดี?

การรับมือกับเรื่องนี้เริ่มต้นได้ด้วยความเข้าใจ ผู้ป่วยบางคนอาจมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ต้องโกหกและอาจไม่ได้ทำไปด้วยเจตนาร้าย แทนที่จะจับผิด กล่าวโทษ หรือมุ่งมั่นกับการคาดคั้นเอาความจริง สิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากกว่าอาจจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจ เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยกล้าพูดความจริงกับแพทย์ นอกจากนี้การรับฟังโดยไม่ตัดสิน การไม่ทำให้รู้สึกกดดันหรือเร่งรัด การนัดพบแพทย์ที่สถานที่จริง วัยที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงเชื้อชาติและศาสนาเดียวกันล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมความรู้สึกสะดวกและสบายใจของผู้ป่วยที่มีต่อแพทย์ด้วย

ผลการสำรวจพบว่ามี 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจและพูดความจริงกับแพทย์ผู้รักษา ได้แก่ 1. แพทย์ที่เคยรักษาด้วยมาก่อนและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และ 2. แพทย์ที่มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกับตน เช่น อายุที่ใกล้เคียงกัน โดยคน Gen Z มักเลือกที่จะปรึกษาแพทย์ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี ในขณะที่  baby boomers อาจรู้สึกดีกว่าหากได้รักษากับแพทย์ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เป็นต้น


แหล่งที่มา

  1. Vogel L. Why do patients often lie to their doctors? CMAJ. 2019 Jan 28;191(4):E115. doi: 10.1503/cmaj.109-5705. PMID: 30692114; PMCID: PMC6342698.
  2. Palmieri JJ, Stern TA. Lies in the doctor-patient relationship. Prim Care Companion J Clin Psychiatry. 2009;11(4):163-8. doi: 10.4088/PCC.09r00780. PMID: 19750068; PMCID: PMC2736034.
  3. Top Reasons Patients Lie About Their Health: 2022 Berxi Survey Results. Available at: https://www.berxi.com/resources/articles/why-patients-lie/
Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Thanks for exploring our medical content.

Create your free account or log in to continue reading.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience