ผู้ชายที่ใช้ยา Viagra อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้น้อยลง

การศึกษาที่ทำขึ้นในสหราชอาณาจักร โดยเผยให้เห็นว่าการรับประทานยากลุ่ม phosphodiesterase type 5 inhibitors (PDE5Is) ซึ่งได้แก่ยา Viagra และ Cialis นั้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของการเกิดโรคโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้มากที่สุด

งานวิจัยนี้ทำขึ้นที่ University College London School of Pharmacy โดยทำการวิเคราะห์เวชระเบียนของผู้ป่วยชายเกือบ 270,000 คนที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 59 ปี ทีมนักวิจัยติดตามผู้ป่วยเหล่านี้เป็นเวลานาน 5 ปีโดยเฉลี่ย ร่วมกับพิจารณาผลของตัวแปรต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Neurology เมื่อเร็ว ๆ นี้เปิดเผยว่าผู้ชายที่ใช้ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา 18%

“นี่นับเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ ผู้ป่วยที่แพทย์สั่งจ่ายยานี้ให้มากที่สุดมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัลไซเมอร์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด” Dr.Ruth Brauer ผู้ร่วมวิจัยได้กล่าวเพิ่มเติมกับสำนักพิมพ์ “แต่อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ของ 2 ตัวแปรนี้ไม่ได้บ่งบอกว่าสิ่งใดเป็นเหตุหรือเป็นผล”

Viagra ป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ได้อย่างไร?

ยาในกลุ่ม PDE5Is ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งประกอบด้วย:

  • sildenafil (Viagra)
  • tadalafil (Cialis)
  • vardenafil (Levitra), และ
  • avanafil (Stendra),

ยาเหล่านี้ได้รับการอนุมัติในสหรัฐอเมริกาสำหรับการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยนี้ อย่างไรก็ตาม Brauer ได้กล่าวไว้ใน Journal Behavioral Brain Research review ปี 2019 ว่า “ยาเหล่านี้ทำให้หลอดเลือดในสมองของสัตว์ทดลองขยายตัว” เธอกล่าวเสริมว่า “โมเดลของสัตว์เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการไหลเวียนของเลือดในสมองที่เพิ่มขึ้นอาจมี neuroprotective properties”

แม้ว่าผลลัพธ์เบื้องต้นจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ Brauer เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง randomized controlled trials อันเนื่องมาจากเราไม่อาจได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจากการศึกษาเชิงสังเกตการณ์นี้ได้

ในการวิเคราะห์ครั้งนี้นักวิจัยต้องอาศัยสมมติฐานที่สำคัญคือ ผู้ป่วยชายที่แพทย์สั่งจ่ายยานี้ให้ได้รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์

“เราเข้าถึงได้เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้สั่งจ่ายยาเท่านั้น แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่รับใบสั่งยาจากร้านขายยา และไม่สามารถระบุว่าใครเป็นผู้ใช้ยาได้ในท้ายที่สุด” Brauer อธิบาย “อาจกล่าวได้ว่ามีแนวโน้มที่ผู้ที่แสวงหายากลุ่มนี้ในเชิงรุกจากแพทย์ GP มีแรงจูงใจที่จะใช้ยา ดังนั้นเราจึงอนุมานได้ว่าใบสั่งยาสัมพันธ์กับการใช้ยาจริง

ผู้หญิงสามารถรับประทานยากลุ่มนี้เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่?

ในสหรัฐอเมริกายาในกลุ่ม PDEI5 ไม่ได้ถูกอนุมัติเพื่อให้ใช้กับผู้หญิง นอกจากนี้ Brauer ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าการให้หญิงที่มีสุขภาพดีรับประทานยายานี้คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีนัก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับประโยชน์ที่กลุ่มคนดังกล่าวจะได้รับ

อย่างไรก็ดี Brauer ได้เล่าถึงการทดลองที่กำลังจะมีขึ้นซึ่งครอบคลุมผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งเพศหญิงและชายที่กำลังประสบปัญหาความจำถดถอยในระยะเริ่มต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่ายา PDEI5 นี้จะสามารถลดการดำเนินของโรคได้หรือไม่ โดยกลุ่มผู้ชายที่ไม่เคยมีประวัติหย่อนสมรรถภาพทางเพศจะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาครั้งนี้

แต่ Brauer ก็ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้นจากงานวิจัยดังกล่าว เพราะแม้ว่านักวิจัยจะพิจารณาถึงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ป่วยแล้ว แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การออกกำลังกายที่เป็นเรื่องยากที่จะได้ข้อมูลเหล่านี้มา

“ข้อมูลเรื่องเชื้อชาติไม่ค่อยได้ถูกบันทึกไว้ในเวชระเบียน” Brauer กล่าว พร้อมแนะนำว่าการเก็บข้อมูลด้านความหลากหลายทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ของผู้ป่วยมากขึ้นจะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง PDEI5s และความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้

โดยสรุป การศึกษาชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการใช้ยา Viagra กับความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลงในผู้ชายที่มีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มนี้เกือบ 270,000 คน พบความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลง 18%

แต่แม้ว่าผลการศึกษาจะมีแนวโน้มดีก็ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเข้าใจถึงบทบาทของยา Viagra และยาอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ รวมถึงการทำความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความสม่ำเสมอในการใช้ยา และข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมวิจัย เป็นต้น อีกทั้งยังได้กล่าวย้ำถึงการตีความผลการวิจัยนี้อย่างระมัดระวัง โดยเน้นว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่ได้ชี้ถึงความเป็นเหตุและผล randomized controlled trials ในอนาคตจึงมีความจำเป็นเพื่อยืนยันข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้


แหล่งที่มา

Viagra may help reduce Alzheimer’s risk, according to a new study. An expert explains the surprising connection [Internet]. Accessed on April 02, 2024, from FORTUNE WELL. Available at:  https://fortune.com/well/2024/02/09/viagra-may-reduce-alzheimers-risk/

Share it with
Email
Facebook
LinkedIn
Twitter
WhatsApp

Similar Articles

Data Privacy Notice

This Privacy Notice shall be read in conjunction with the Privacy Policy to the extent this Notice does not mention or specify the particulars that should have been mentioned or specified relating to the Notice in pursuance of the provisions of the Data Protection Laws as applicable.

On having accessed or visited this Platform you the Noticee hereby voluntarily consent to and take notice of the fact that the personal data, by which or in relation whereto you the concerned Noticee is identifiable, shall be retained, stored, used, and may be processed by the Company for the purpose and in the manner, though legal, found suitable to it for commercial and/or some other reasons. The detailed specificity whereof may be found in the Privacy Policy. The consent provided herein may be withdrawn anytime by you, the Noticee, at its own volition by removing your profile or by writing to us at support@docquity.com.

As a Noticee, you shall have the right to grievance redressal, in relation to your consent or our use of your personal data, which you may address by writing to us at dpo@docquity.com. Should you, the Noticee, thereafter remain unsatisfied or dissatisfied with the resolution provided by us, you, the Noticee, may approach the concerned regulatory authority for the redressal of your grievance.

Thanks for exploring our medical content.

Create your free account or log in to continue reading.

Data Privacy Notice

By using this platform, you consent to our use of your personal data as detailed in our Privacy Policy, and acknowledge that we use cookies to improve your browsing experience