โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ในประชากรทั่วโลก โดยในปี 2019 มีผู้เสียชีวิตจาก COPD ถึง 3 ล้านคน อีกทั้งความรุนแรงของโรคยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีกลุ่มประชากรสูงวัยมากขึ้นและมีการสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวทางการจัดการ COPD ที่ไม่สอดคล้องกันทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องที่ท้าทาย ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค รวมถึงการรักษาด้วยยาอย่างไม่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ systemic corticosteroids
Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ การป้องกัน และการจัดการกับโรค COPD ต่อมาในปี 2001 ได้มีการเผยแพร่ GOLD report ฉบับแรกซึ่งเป็นการให้ข้อมูลเชิงลึกตามหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค การจัดการทั้งในช่วงที่โรคสงบและเกิดการกำเริบของโรค
เฉียบพลัน และการพิจารณาโรคร่วม โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่ม patient outcomes และลดการใช้ทรัพยากรด้านการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรค COPD
GOLD recommendations จะมีการทบทวนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการรักษาและการจัดการกับโรค โดยฉบับปรับปรุงล่าสุดคือ GOLD 2023 report ซึ่งได้เผยแพร่ออกมาในเดือนพฤศจิกายน 2022 บทความนี้จะเจาะลึกว่ามีประเด็นใดที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปบ้าง โดยจะเน้นผลที่มีต่อแนวทางเวชปฏิบัติในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ
ประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใน GOLD Report 2023
- Definition และ Taxonomy
- ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวโรคและคำจำกัดความและนิยามต่าง ๆ กล่าวไว้ในบทที่ 1
- เพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic bronchitis) (บทที่ 1 หน้า 13)
- เสนอคำนิยามใหม่ของ COPD: COPD คือ ภาวะความผิดปกติของปอด โดยมีอาการทางระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง (หายใจลำบาก ไอ มีเสมหะ) เนื่องจากความผิดปกติของระบบดังกล่าว (หลอดลมอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ) และ/หรือถุงลม (ถุงลมโป่งพอง) ที่ทำให้เกิดการอุดตันของการไหลของอากาศอย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้ง (บทที่ 1 หน้า 5)
- เสนอคำนิยามใหม่ของ COPD exacerbation และเพิ่มตัวชี้วัดใหม่สำหรับการประเมิน exacerbation history: COPD exacerbation หรือระยะที่อาการของโรคกำเริบโดยเฉียบพลันคือ ช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากและ/หรือไอและมีเสมหะ ซึ่งอาการแย่ลงภายใน 14 วัน และมักเกี่ยวข้องกับการอักเสบที่เพิ่มขึ้นทั้งแบบเฉพาะที่และแบบ systemic ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ มลพิษทางอาการ หรือปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ (บทที่ 1 หน้า 134)
- การวินิจฉัย
- เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการคัดกรองและการค้นหาผู้ป่วย (บทที่ 2 หน้า 36)
- เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายและ CT (บทที่ 2 หน้า 43)
- มีการเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มคนไข้แบบ ABCD group เป็น ABE model เพื่อปรับให้สอดคล้องกับอาการทางคลินิกเมื่อโรคกำเริบ โดยไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ (บทที่ 2 หน้า 40 และ บทที่ 4 หน้า 115)
- การจัดการกับระยะที่อาการกำเริบ
- ในหัวข้อการจัดการกับระยะที่อาการกำเริบได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้อาการของโรคกำเริบได้ รวมถึงเพิ่มตารางเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการประเมิน (บทที่ 5 หน้า 136)
- การจัดการกับโรค: การรักษาด้วยยา
- เปลี่ยนแปลงเนื้อหาและรูปภาพเกี่ยวกับการรักษาในระยะต้นด้วยยาและการติดตามการใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ LABA + LAMA และ ICS + LABA (บทที่ 4 หน้า 115)
- เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจาก COPD (บทที่ 3 หน้า 67)
- เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการนำส่งยาแบบสูดพ่น (บทที่ 3 หน้า 69)
- เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับความร่วมมือในการใช้ยาสูดพ่น (บทที่ 3 หน้า 71)
- เพิ่มข้อมูลใหม่เกี่ยวกับทางเลือกในการใช้อุปกรณ์ในการสูดพ่นยา (บทที่ 4 หน้า 112)
- การจัดการกับโรค: การรักษาโดยไม่ใช้ยา
- ปรับคำแนะนำในการให้วัคซีนในผู้ป่วย COPD ให้สอดคล้องกับคำแนะนำของ Centre for Disease Control and Prevention (CDC) (บทที่ 3 หน้า 54)
- เพิ่มเติมส่วน tele-rehabilitation (บทที่ 3 หน้า 76)
- เพิ่มส่วนขยายของ interventional and surgical therapies สำหรับ COPD (บทที่ 3 หน้า 82)
- โรคร่วม
- ปรับปรุงเนื้อหาส่วน COPD และโรคร่วม และ COVID-19 และ COPD ให้เป็นไปตามหลักฐานล่าสุด (บทที่ 6 หน้า 154 และบทที่ 7 หน้า 169)
ตารางที่ 1: สรุปการจำแนกประเภทสาเหตุของ COPD แบบใหม่
รูปที่ 1: (A) แผนภาพสรุปอัลกอริธึมการรักษาจาก GOLD ที่ปรับปรุงล่าสุด (B) การรักษาด้วยยาในระยะต้นและการติดตามการใช้ยา
สรุป
GOLD 2023 report ฉบับล่าสุดนี้ได้ให้แนวทางการจัดการกับ COPD ในแบบที่ไม่ซับซ้อน ซึ่งจะช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น
อย่างไรก็ดียังคงต้องอาศัยข้อมูลจากงานวิจัยในอนาคตที่เกี่ยวกับการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนโดยคำนึงถึงสาเหตุของโรค การระบุค่า cutoffs ของ blood eosinophils เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา รวมถึงการรักษาด้วย triple therapy ในกลุ่มผู้ป่วยหลังจากออกจากโรงพยาบาล
การพิจารณาและตีความคำแนะนำจาก GOLD report ฉบับล่าสุดเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการนำไปปรับใช้กับบริบทของการปฏิบัติงานของแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่เหมาะสม เราหวังว่าคำแนะนำเหล่านี้จะมีประโยชน์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยผู้ป่วย COPD ตั้งแต่เนิ่น ๆ การจัดการกับระยะที่โรคกำเริบและการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการ ตลอดจนการลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วยวิธีการรักษาที่เหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. GLOBAL STRATEGY FOR PREVENTION, DIAGNOSIS AND MANAGEMENT OF COPD: 2023 Report [Internet]. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease – GOLD. 2023. Available from: https://goldcopd.org/2023-gold-report-2/